.jpg)
มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเลือดของเราซักเล็กน้อยค่ะ เลือดประกอบด้วยพลาสมา และเม็ดเลือด คิดเป็น 8 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว ก็ประมาณซัก 5-6 ลิตรสำหรับผู้ชาย และ 4-5 ลิตรสำหรับผู้หญิง
เม็ดเลือดแต่ละชนิดจะมีอายุการทำงานที่ชัดเจนคือ เม็ดเลือดแดงมีอายุ 120 วัน เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดมีอายุ 5-10 วัน เมื่อถึงเวลาที่กำหนด เม็ดเลือดจะถูกทำลายและขับถ่ายออกมาในรูปของเหงื่อ ปัสสาวะ และอุจจาระ หลังจากนั้นไขกระดูกก็จะรับหน้าที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดชุดใหม่ขึ้นมา

• ร่างกายได้เม็ดเลือดใหม่ ซึ่งแข็งแรงและทำงานได้มีประสิทธิภาพกว่า ทำให้เม็ดเลือดแดงลำเลียงออกซิเจนได้เต็มที่ เม็ดเลือดขาวทำลายสิ่งแปลกปลอมได้ดีขึ้น
• กระตุ้นการทำงานของไขกระดูก เปรียบเหมือนการออกกำลังกายให้กับไขกระดูกได้ทำงานดีขึ้น • ได้ตรวจสุขภาพทางอ้อม เพราะเมื่อมีการได้รับเลือดแล้ว ทางสภากาชาดจะต้องตรวจหาภาวะติดเชื้อต่างๆ เท่ากับผู้บริจาคได้รู้ภาวะสุขภาพของตนเองในขณะนั้นด้วย • ลดความเสี่ยงโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน การวิจัยในประเทศฟินแลนด์พบว่า การบริจาคโลหิตช่วยลดความเสี่ยง โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในเพศชายได้ถึง 88 เปอร์เซ็นต์ เพราะโรคนี้มีความสัมพันธ์กับปริมาณธาตุเหล็กที่สะสมในร่างกาย หากมีสะสมมาก โอกาสเสี่ยงย่อมสูง การบริจาคเลือดช่วยให้ร่างกายลดการสะสมธาตุเหล็ก ซึ่งเท่ากับลดความเสี่ยงโรคหัวใจลงด้วยนั่นเอง